วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวิติลีลาศในประเทศไทย








การลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด  แต่จากบันทึกของแหม่มแอนนา  ทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า  เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  4  และบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามบันทึกของแหม่มแอนนาเล่าว่า  ในช่วงหนึ่งของการสนทนาได้พูดถึงการเต้นรำ  ซึ่งแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักการเต้นรำแบบสุภาพ  ซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก พร้อมกับแสดงท่าและบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก  มักนิยมเต้นกันในวังยุโรป  ซึ่งพระองค์ท่านก็ฟังอยู่เฉยๆ  ไม่ออกความเห็นใดๆ แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่า  พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไปแขนต้องวางให้ถูกและพระองค์ท่านก็เต้นให้ดู จนแหม่มแอนนาถึงกับงง จึงทูลถามว่าใครเป็นคนสอนให้พระองค์  ท่านก็ไม่ตอบจึงไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง
·         ในสมัยรัชกาลที่  5  การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก  คงมีแต่เจ้านายในวังที่เต้นกัน  ส่วนใหญ่มักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว  และบางครั้งได้มีการนำเอาจังหวะวอลซ์ไปสอดแทรกในการแสดงละครด้วย เช่น  เรื่องพระอภัยมณี ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงได้กับพระอภัยมณี 
·         ในสมัยรัชกาลที่  6  ทุกๆ ปีในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำกันใน    พระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายต้องเข้าเฝ้า  ส่วนแขกที่ชิญนั้นต้องได้รับบัตรเชิญจึงจะเข้าไปในงานได้
·         ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเต้นรำได้รับความนิยมมากขึ้น  ได้เปิดให้มีการเต้นกันตามสถานที่ต่างๆกันมาก เช่น ที่ห้อยเทียนเหลา  เก้าชั้น  โลลิต้า  และคาร์เธ่ย์
·         ในพุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ กับนายหยิบ ณ นคร ได้ปรึกษากันและจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น ชื่อ “ สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ” โดยมีหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ เป็นประธาน นายหยิบ ณ นคร เป็นเลขาธิการสมาคม และมีคณะกรรมการอีกหลายท่าน เช่น หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ นายแพทย์เติม บุนนาค พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิตหลวงสุขุม               นัย ประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล สถานที่ตั้งสมาคมนั้นไม่แน่นนอนคือวนเวียนไปตามบ้านสมาชิกแล้วแต่สะดวก การตั้งเป็นสมาคมครั้งนี้ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่อย่างใด สมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้พาบุตรหรือบุตรีเข้าฝึกหัดด้วย ทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว   มัก จัดให้มีงานเต้นรำขึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์ วังสราญรมย์ และได้จัดแข่งขันการเต้นรำขึ้นครั้งแรกที่วังสราญรมย์นี้ ผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปี้ยนคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และคุณประนอม สุขุม
·         ในปี พ.ศ. 2476 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นว่า  คำว่า “ เต้นรำ ” เมื่อผวนแล้วจะฟังไม่ไพเราะหู     ดังนั้นหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า “ลีลาศ” ขึ้นแทนคำว่า “เต้นรำนับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไปกลายเป็น “สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย” โดย มีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงานจนสามารถส่งนักลีลาศไปแข่งยังต่างประเทศได้ รวมทั้งให้การต้อนรับนักลีลาศชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมหรือแสดงในเมืองไทย ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ด้วย จึงทำให้การลีลาศซบเซาไป
·         เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของเมืองไทยก็เริ่มคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นดังเดิม มีโรงเรียนสอนลีลาศเปิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะสาขาบอลรูมหรือ Modern Ballroom Branch อาจารย์ยอด บุรี  ซึ่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษแล้วนำกลับมาเผยแพร่ใน  เมืองไทย  ทำให้การลีลาศซึ่ง ศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนา  เป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
     ต่อมาได้มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศประมาณ 10 ท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น คุณกวี กรโกวิท , คุณอุไร โทณวนิก , คุณจำลอง มาณยมฑล คุณปัตตานะ เหมะสุจิ โดยมีนายแพทย์ประสบ วรมิศร์  เป็น ผู้ประสานงานติดต่อพบปะปรึกษาหารือ และมีแนวความคิดจะรวมนักลีลาศทั้งหมดให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน เพื่อเป็นการผนึกกำลังและช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานการลีลาศทั้งทางทฤษฎีและทาง ปฏิบัติ ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกัน จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับขึ้นมา ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมตามกฎหมาย เมื่อวันที่  7  สิงหาคม  พ.ศ. 2491  ซึ่งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุญาติให้จัดตั้ง“ สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ”  เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม  2491  โดยมีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก  ปัจจุบันสมาคมแห่งประเทศไทย  เป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติด้วยประเทศหนึ่ง
 
      หลังจากนั้นการลีลาศได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก  มีการจัดตั้งสมาคมลีลาศขึ้น  มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มขึ้น  มีการจัดส่งนักกีฬาลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศ  และจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย  ในสมัยจอมพลสฤษณ์  ธนะรัตต์  ได้ให้เรียนสอนลีลาศต่างๆ  สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผน  มีสถาบันที่เปิดสอนลีลาศเกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัด  ปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนลีลาศในสถานศึกษา  ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา  จนถึงระดับอุดมศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น