วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สุขภาพกับบัญญัติ 10 ประการ


สุขภาพคืออะไร...?
             
“สุขภาพ” มีความหมาย 3 ประการ คือ ความปลอดภัย (Safe) ความไม่มีโรค (Sound) หรือทั้งความปลอดภัยและไม่มีโรค (Whole) ดังนั้น ความหมายของคำว่า “สุขภาพ” จึงหมายถึง ความไม่มีโรคทั้งร่างกายและจิตใจ (Soundness of or mind)
            องค์กรอนามัยโลกได้ให้คำนิยามคำว่า “สุขภาพ”ในความหมายที่กว้างขึ้นว่า หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม
            ตามร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2545 ให้ความหมายของคำว่า “สุขภาพ” คือภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย คือ ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ ไม่มีอุบัติเหตุอันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ
            ทางจิตใจ คือ มีจิตใจที่มีความสุข รื่นเริง ไม่ติดขัด มีเมตตา มีสติ มีสมาธิ            ทางสังคม คือ มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรม และทางจิตวิญญาณ คือ ความสุขที่เกิดขึ้นเมื่อทำความดีหรือจิตใจได้สัมผัสสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงส่ง โดยทั้ง 4 ด้านนี้ จะต้องเกิดขึ้นจากการจัดการทางสุขภาพในระดับต่างๆทั้งสุขภาพในระดับของปัจเจกบุคคล (Individual Health) สุขภาพของครอบครัว (Family Health) อนามัยชุมชน (Community Health) และสุขภาพของสาธารณะ (Public Health)
สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียน การทำงาน และ สุขบัญญัติ 10 ประการ  ยังช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยง่าย ๆ ด้วย โดย สุขบัญญัติ 10 ประการ หรือ สุขบัญญัติแห่งชาตินี้ รัฐบาลได้ประกาศให้ดำเนินการและเผยแพร่ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2539 ดังนั้นจึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 28 พฤษภาคม เป็น "วันสุขบัญญัติแห่งชาติ" อีกด้วย
สุขบัญญัติ 10 ประการ ประกอบไปด้วย
1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด ทำได้โดย
           อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
           ตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรค
           ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน
           ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ
           จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
2.รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี โดยการ
   แปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า และก่อนนอน
           ถูหรือบ้วนปาก หลังทานอาหาร
           เลือกใช้ยาสีฟันและฟลูออไรด์
           หลีกเลี่ยงการทานลูกอม ลูกกวาด ท็อฟฟี่ ขนมหวานเหนียวต่าง ๆ เพื่อป้องกันฟันผุ
           ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
           ไม่ควรใช้ฟันกัดขบของแข็ง
3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
 คือ ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการเตรียม ปรุง และรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังการขับถ่าย
4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด โดยการ
           เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงหลัก 3 ป คือ ประโยชน์ ปลอดภัย และประหยัด
           ปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และใช้เครื่องปรุงรสที่ถูกต้อง โดยคำนึงหลัก 3 ส คือ สงวนคุณค่า สุกเสมอ และสะอาดปลอดภัย
           ทานอาหารที่มีการจัดเตรียม การประกอบอาหาร และใส่ในภาชนะที่สะอาด
           รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
           รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการทุกวัน
           ทานอาหารปรุงสุกใหม่ รวมทั้งใช้ช้อนกลางในการทานอาหารร่วมกัน
           หลีกเลี่ยงทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารรสจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารใส่สีฉูดฉาด
           ดื่มน้ำสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
           ทานอาหารให้เป็นเวลา
5.งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
ผู้ที่จะมีสุขภาพดีตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ ต้องงดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดใช้สารเสพติด งดเล่นการพนัน นอกจากนี้ต้องส่งเสริมค่านิยม รักนวลสงวนตัว และมีคู่ครองเมื่อถึงวัยอันควร
6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น ทำได้โดย
   ให้ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน
           สมาชิกทุกคนในครอบครัวควรปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
           เผื่อแผ่น้ำใจให้กันและกัน
           จัดกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน
           ชวนกันไปทำบุญ
7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท ทำได้โดย
           ระมัดระวังป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดภายในบ้าน เช่น เตาแก๊ส ไฟฟ้า ของมีคม ธูปเทียนที่จุดบูชาพระ ฯลฯ
           ระมัดระวังในการป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น ปฏิบัติตามกฏของการจราจรทางบก ทางน้ำ ป้องกันอันตรายจากโรงฝึกงาน ห้องปฏิบัติการ เขตก่อสร้าง หลีกเลี่ยงการชุมนุมห้อมล้อม ในขณะเกิดอุบัติภัย
8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี โดยการ
   ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
           ออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัย
           ตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ โดยการ
   พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างต่ำ 8 ชั่วโมง
           จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และที่ทำงานให้น่าอยู่
           หาทางผ่อนคลายความเครียด เมื่อมีปัญหา หรือเรื่องไม่สบายใจรบกวน อาจหางานอดิเรกทำ ใช้เวลาว่างไปกับการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูภาพยนตร์
           ช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา
10.มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม เช่น
   กำจัดขยะภายในบ้าน และทิ้งขยะในที่รองรับ
           หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก สเปรย์ เป็นต้น
           มีและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
           กำจัดน้ำทิ้งในครัวเรือนและโรงเรียนด้วยวิธีที่ถูกต้อง
           ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
           อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชน ป่า น้ำ และสัตว์ป่า เป็นต้น
          ถ้าหากใครปฏิบัติได้ตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ นี้ รับรองว่า จะมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยมาเบียดเบียนแน่นอน






วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ว๊ด๊โอตัวอย่างสำหรับฝึกซ้อมเต้นลีลาศ


ลีลาศ จังหวะบีกิน






จังหวะฮัสเซิ่ล



ลีลาศ จังหวะ ดิสโก้




ลีลาศ จังหวะชะชะช่า แบบ เต้นคู่

ประโยชน์ของลีลาศ








 ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้ ดังนี้


1.  เป็นกิจกรรมนันทนาการ และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2.  ก่อให้เกิดความสนุกสนาม เพลิดเพลิน
3.  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี
4.  ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม ยิ่งขึ้น
5.  เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกันได้
6.  ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไกของร่างกาย
7.  เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
8.  ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
9. ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป
10.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
11. ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม
12.  ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี
13. เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย

การแข่งขัน






คู่แข่งขัน
1. คำจำกัดความของคู่แข่งขัน
คู่แข่งขัน 1 คู่ จะประกอบด้วย ชาย 1 คน และคู่เต้นที่เป็นหญิง 1 คน
2. คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน
1.1 คู่แข่งขันที่เคยเป็นตัวแทนประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่อนุญาตให้เป็นตัวแทนของประเทศอื่นอีก จนกว่าเวลาจะผ่านพ้นไป 12 เดือน
2.2 ในกรณีที่เป็นการแข่งขัน ที่จัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( IOC ) หรือสมาคมเวิลด์เกมส์นานาชาติ ( IWGA ) ไม่อนุญาตให้คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน เข้าร่วมทำการแข่งขัน เพื่อให้เป็นไปตามกฎของคณะกรรมการโอลิมปิคสากล คู่แข่งขันที่เป็นตัวแทนของชาตินั้น นักแข่งขันแต่ละคน จะต้องมีหนังสือเดินทางของชาติของตน ซึ่งส่งโดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของ สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
2.3 การแข่งขันชิงถ้วย Formation ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ( IDSF Championships / Cups Formation ) อย่างน้อยต้องมีนักกีฬาเข้าแข่งขันจำนวน 12 คน ในหนึ่งทีม ที่จะต้องจัดส่งหนังสือเดินทางของชาติตนเอง โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ

วิธีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ
1. ประธานกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง จากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง) ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแล การแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ ในการแข่งขันนานาชาติใด ที่ประธานกรรมการไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดยสหพันธ์ ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานเอง (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง)
2. กรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a - c และ 7 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภท ทีม - คู่ ( Team Matches )
3. สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ตัดสินของสหพันธ์ฯ
4. กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 a+b, 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 7 คน ในการตัดสินการแข่งขันระดับนานาชาติ
5. สำหรับการแข่งขันภายใต้กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4, 7 และ 8 คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องเชิญจากประเทศต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน
6. ในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการผู้ตัดสิน จะต้องได้รับการรับรองเป็นทางการ โดยคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
7. ไม่อนุญาตให้กรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินคู่ของตัวเอง ในการแข่งขันที่จัดขึ้นสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ

มารยาทและกติกาของลีลาศ


1. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือขบเคี้ยวของขณะลีลาศ
2. ต้องลีลาศไปตามทิศทางที่ถูกต้อง
3. ควรแต่งกายให้ถูกต้องตามกาลเทศะ
4. ให้ความสนใจคู่ลีลาศของตน
5. ไม่แสดงความเบื่อหน่ายคู่ลีลาศของตน
6. อย่าแสดงความสนใจคู่ลีลาศอื่น
 7. หากมีความจาเป็นต้องพูดคุยกับผู้อื่นในขณะลีลาศ ควรแนะนาคู่ลีลาศของตนให้รู้จักด้วย
8. ไม่ร้องเพลงคลอเสียงดนตรีขณะลีลาศ
9. ถ้าจะเปลี่ยนคู่ลีลาศ ควรพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
10. ไม่สอนลวดลายใหม่ขณะที่ลีลาศอยู่บนฟลอร์
11. การลีลาศโดยไม่จับคู่ถือว่าไม่สุภาพ

• มารยาทในการลีลาศของสุภาพบุรุษ
1. ไม่ควรยืนข้างฟลอร์เฉยๆ
2. ไม่ตัดคู่ขอลีลาศกับสุภาพสตรีที่กาลังลีลาศอยู่ เมื่อยังมีสตรีอื่นไม่ได้ออกลีลาศ
3. ควรเดินนำหน้าเพื่อขอทาง โดยยื่นมืออีกข้างให้สุภาพสตรีจับถ้าฟลอร์แน่น
4. เมื่อจบเพลงควรเดินตามไปส่งให้ถึงที่นั่ง พร้อมกับกล่าวขอบคุณ
5. ไม่ควรนำลีลาศในลวดลายที่ยาก
6. ถ้าจะขอลีลาศกับสุภาพสตรีอื่น ต้องขออนุญาตคู่ลีลาศของเขาก่อน และให้สุภาพสตรีพอใจที่จะลีลาศด้วย
• มารยาทในการลีลาศของสุภาพสตรี
1. พยายามเป็นผู้ตาม
2. รับการขอลีลาศจากสุภาพบุรุษเสมอ
3. กล่าวรับคาขอบคุณของสุภาพบุรุษอย่างสุภาพ
4. เมื่อปฏิเสธการลีลาศจากสุภาพบุรุษคนหนึ่งแล้ว ไม่ควรออกลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะนั้น


กติกาลีลาศ
ผู้แข่งขัน

 เป็นคู่เต้น ชาย 1 คน หญิง 1 คน


การให้คะแนน



 -การเต้นให้ลงจังหวะกับดนตรี และ ดูพื้นฐานของการเต้นว่าถูกต้องหรือไม่

 -ดูการทรงตัวของลำตัว มีความสัมพันธกับคู่เต้น

 -ดูการเคลื่อนไหวให้พริ้วไหว สวยงาม

 -การออกแบบการแสดง การเลือกดนตรีประกอบ และการเปลี่ยนท่าในช่วงต่อจังหวะ

 -การใช้เท้าในการเคลื่อนไหว จะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์

 -การใช้พื้นที่ฟลอร์ในการเต้น จะต้องหลบหลีกคู่เต้นอื่น และไม่ไปรบกวนการเต้นของผู้อื่นด้วย

 -ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ ในการให้คะแนน มีสัดส่วนเท่ากัน


ขอบข่ายของลีลาศ


ขอบข่ายของการลีลาศ
สภาการลีลาศนานาชาติ (International Council of Ballroom Dancing : I.C.B.D.) ได้ทำการรวบรวมและแบ่งการลีลาศออกเป็น 2 ประเภท คือ
 1. ประเภทบอลรูม (Ballroom Dancing)
 2. ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American Dancing)

ประเภทบอลรูม (Ballroom Dancing)
 เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะ นุ่มนวล สง่างาม ลักษณะของการลีลาศและทำนองดนตรีเต็มไปด้วยความสุภาพอ่อนหวาน ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรง ผึ่งผาย ในการก้าวเท้านิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้นห้อง มักพบการลีลาศประเภทนี้ในหมู่ขุนนางชาวอังกฤษ
จึงเรียกติดปากกันว่าการลีลาศแบบผู้ดีอังกฤษ มีอยู่ 5 จังหวะ คือ
 1. จังหวะวอลซ์ (Waltz)
 2. จังหวะควิกวอลซ์ หรือเวนิสวอลซ์ (Quick Waltz or Vienness Waltz)
3. จังหวะฟอกซ์ทรอท (Foxtrot)
4. จังหวะแทงโก้ (Tango)
5. จังหวะควิกสเตป (Quick Step)

 ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American Dancing)
เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะค่อนข้างเร็ว ใช้ความแคล่วคล่องว่องไว ส่วนใหญ่จะใช้ไหล่ เอว สะโพก เข่า และข้อเท้าเป็นสำคัญ การก้าวเดินสามารถยกเท้าพ้นพื้นได้ ทานองและจังหวะดนตรีจะเร้าใจทำให้เกิดความสนุกสนานร่าเริง มีอยู่ 5 จังหวะ คือ
1. จังหวะคิวบันรัมบ้า (Cuban Rumba)
2. จังหวะแซมบ้า (Samba)
3. จังหวะพาโซโดเบิล (Paso Doble)
4. จังหวะไจว์ฟ (Jive)
5. จังหวะชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)

นอกจากนี้ยังมีลีลาศอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (Pop or Social Dance) โดยรวบรวมจังหวะที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ และยังไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือเป็นจังหวะที่นิยมลีลาศกันภายในบางประเทศแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ประกอบด้วยจังหวะต่าง ๆ ดังนี้
1. จังหวะบีกิน (Beguine)
2. จังหวะอเมริกันรัมบ้า (American Rumba)
3. จังหวะดิสโก้ (Disco)
4. จังหวะตะลุงเทมโปู (Taloong Tempo)
5. จังหวะกัวราช่า (Guarracha)
6. จังหวะแมมโบ้ (Mambo)
7. จังหวะคาลิปโซ่ (Calypso)
8. จังหวะร็อค แอนด์ โรล (Rock and Roll)
9. จังหวะออฟบีท (Off – beat)
10. จังหวะทวิสต์ (Twist)
11. จังหวะบั๊มพ์ (Bump)
12. จังหวะฮัสเซิล (Hustle

ประวิติลีลาศ









 การเต้นรำแบบบอลรูม หรือการเต้นลีลาศ เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า “โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
            วิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ (ค.ศ. 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า “โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante)
            สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
            แซมมวล ไพปส์ (ค.ศ. 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น “โคแรนโท” (Coranto)
            การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน
            การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
            ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (ค.ศ. 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง
            ในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ (Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร
            ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาศแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot)
            เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา