วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขอบข่ายของลีลาศ


ขอบข่ายของการลีลาศ
สภาการลีลาศนานาชาติ (International Council of Ballroom Dancing : I.C.B.D.) ได้ทำการรวบรวมและแบ่งการลีลาศออกเป็น 2 ประเภท คือ
 1. ประเภทบอลรูม (Ballroom Dancing)
 2. ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American Dancing)

ประเภทบอลรูม (Ballroom Dancing)
 เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะ นุ่มนวล สง่างาม ลักษณะของการลีลาศและทำนองดนตรีเต็มไปด้วยความสุภาพอ่อนหวาน ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรง ผึ่งผาย ในการก้าวเท้านิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้นห้อง มักพบการลีลาศประเภทนี้ในหมู่ขุนนางชาวอังกฤษ
จึงเรียกติดปากกันว่าการลีลาศแบบผู้ดีอังกฤษ มีอยู่ 5 จังหวะ คือ
 1. จังหวะวอลซ์ (Waltz)
 2. จังหวะควิกวอลซ์ หรือเวนิสวอลซ์ (Quick Waltz or Vienness Waltz)
3. จังหวะฟอกซ์ทรอท (Foxtrot)
4. จังหวะแทงโก้ (Tango)
5. จังหวะควิกสเตป (Quick Step)

 ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American Dancing)
เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะค่อนข้างเร็ว ใช้ความแคล่วคล่องว่องไว ส่วนใหญ่จะใช้ไหล่ เอว สะโพก เข่า และข้อเท้าเป็นสำคัญ การก้าวเดินสามารถยกเท้าพ้นพื้นได้ ทานองและจังหวะดนตรีจะเร้าใจทำให้เกิดความสนุกสนานร่าเริง มีอยู่ 5 จังหวะ คือ
1. จังหวะคิวบันรัมบ้า (Cuban Rumba)
2. จังหวะแซมบ้า (Samba)
3. จังหวะพาโซโดเบิล (Paso Doble)
4. จังหวะไจว์ฟ (Jive)
5. จังหวะชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)

นอกจากนี้ยังมีลีลาศอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (Pop or Social Dance) โดยรวบรวมจังหวะที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ และยังไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือเป็นจังหวะที่นิยมลีลาศกันภายในบางประเทศแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ประกอบด้วยจังหวะต่าง ๆ ดังนี้
1. จังหวะบีกิน (Beguine)
2. จังหวะอเมริกันรัมบ้า (American Rumba)
3. จังหวะดิสโก้ (Disco)
4. จังหวะตะลุงเทมโปู (Taloong Tempo)
5. จังหวะกัวราช่า (Guarracha)
6. จังหวะแมมโบ้ (Mambo)
7. จังหวะคาลิปโซ่ (Calypso)
8. จังหวะร็อค แอนด์ โรล (Rock and Roll)
9. จังหวะออฟบีท (Off – beat)
10. จังหวะทวิสต์ (Twist)
11. จังหวะบั๊มพ์ (Bump)
12. จังหวะฮัสเซิล (Hustle

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น